การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556

การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556 กินเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 17 ตุลาคม 2556 หลังรัฐสภาไม่สามารถผ่านกฎหมายการจัดสรรเงินสำหรับปีงบประมาณ 2557 หรือข้อมติต่อเนื่อง (continuing resolution) อนุญาตจัดสรรเงินสำหรับปีงบประมาณ 2557 ชั่วคราว ลูกจ้างของรัฐบาลกลางราว 800,000 คนถูกพักงานอย่างไม่มีกำหนด และอีก 1.3 ล้านคนถูกกำหนดให้รายงานตัวเข้าทำงานโดยไม่ทราบวันชำระเงิน หลายบริการถูกระงับหรือตัดทอน มีเฉพาะลูกจ้างและบริการซึ่งถูก "ยกเว้น" ภายใต้รัฐบัญญัติป้องกันงบประมาณบกพร่อง (Antideficiency Act) เท่านั้นที่ยังทำงานตามปกติ[1] การปิดบริการของรัฐบาลกลางครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกนับแต่ครั้งล่าสุดเมื่อปีปี 2538–2539[2][3] นอกจากนี้ รัฐบาลกลางแห่งสหรัฐเคยปิดบริการมาแล้วสิบแปดครั้งตั้งแต่ปี 2519[4][5][6] การปิดบริการครั้งนี้กินเวลา 16 วัน นับเป็นการปิดบริการของรัฐบาลกลางที่นานที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากเมื่อปี 2521 (18 วัน) และปี 2536-37 (21 วัน)"ช่องว่างการจัดหาเงินทุน" เกิดขึ้นเมื่อสองสภาไม่สามารถตกลงประนีประนอมข้อมติต่อเนื่องได้ สภาผู้แทนราษฎรที่มีพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมาก เสนอให้ใช้มติต่อเนื่องด้วยภาษาที่ชะลอหรือไม่จัดหาเงินทุนแก่รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้ (Patient Protection and Affordable Care Act) หรือที่เรียกกันโดยภาษาปากว่า โอบามาแคร์ (Obamacare)[7] วุฒิสภาที่มีพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากผ่านมติต่ออายุที่แปรญัตติหลายครั้งเพื่อคงการจัดหารเงินทุนที่ระดับปัจจุบันโดยไม่มีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม การต่อสู้ทางการเมืองเหนือประเด็นดังกล่าวและประเด็นอื่นระหว่างสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายหนึ่งกับประธานาธิบดีบารัค โอบามากับวุฒิสภาอีกฝ่ายหนึ่งทำให้งบประมาณถึงทางตัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักขนานใหญ่[8][9][10]ปัญหาดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่มติการจัดสรรเงินต่อเนื่อง ค.ศ. 2014 (Continuing Appropriations Resolution, 2014) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรผ่านเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 วุฒิสภาถอดร่างมาตรการที่เกี่ยวกับรัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ และผ่านในรูปที่ทบทวนแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 สภาผู้แทนราษฎรนำมาตรการที่วุฒิสภานำออกกลับเข้ามาอีก และผ่านเป็นรอบที่สองในช่วงเช้าของวันที่ 29 กันยายน[11] วุฒิสภาปฏิเสธไม่ผ่านร่างกฎหมายที่ยังมีมาตรการชะลอรัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ และทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงร่างกฎหมายประนีประนอมจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 ส่งผลให้รัฐบาลกลางต้องปิดบริการเนื่องจากขาดงบประมาณที่ได้รับจัดสรรวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นวันแรกของปีงบประมาณ 2557 ยังเป็นวันที่หลายมาตรการของรัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ มีผลใช้บังคับ[12] ตลาดประกันสุขภาพที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ ก็เปิดตามกำหนดในวันที่ 1 ตุลาคม[13] รัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ ส่วนมากได้รับเงินทุนจากการใช้จ่ายที่เคยได้รับอนุญาตและบังคับ มิใช่การใช้จ่ายตามดุลยพินิจ ( discretionary spending) และมติต่อเนื่องไม่มีผลต่อรัฐบัญญัติการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงได้ฯ เพราะการจัดหาเงินทุนบางอย่างของกฎหมายนี้มาจากเงินทุนดุลยพินิจ (discretionary fund) หลายปีหรือ "ไม่ประจำปี" (no-year) ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบหากไม่มีข้อมติต่อเนื่อง[14] วันที่ 16 ตุลาคม 2556 รัฐสภาผ่านรัฐบัญญัติการจัดสรรเงินต่อเนื่อง ค.ศ. 2014 และประธานาธิบดีลงนามในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งยุติการปิดบริการของรัฐบาลกลางและชะลอเพดานหนี้ไปเป็นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556 http://www.cnbc.com/id/101065733 http://www.cnn.com/2013/09/20/politics/congress-sp... http://www.cnn.com/2013/09/30/politics/cnn-poll-sh... http://www.cnn.com/2013/10/16/politics/shutdown-sh... http://www.headnine.com/top/2013/09/30/republican-... http://www.huffingtonpost.com/2013/09/30/republica... http://economix.blogs.nytimes.com/2013/09/24/how-t... http://www.nytimes.com/2013/09/29/us/politics/fede... http://www.nytimes.com/2013/10/01/us/politics/cong... http://www.outsidethebeltway.com/a-brief-history-o...